lophophora

โลโฟโฟร่า แคคตัสไร้หนามทรงกลมสุดน่ารัก

โลโฟโฟร่า (lophophora) กระบองเพชรไร้หนาม อีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีความน่ารักไม่แพ้กับสายพันธุ์อื่นๆเลย แถมยังมีดอกอีกด้วย โดยเจ้ากระบองเพชรชนิดนี้คนไทยมักจะเรียกด้วยชื่อสั้นๆว่า “โลโฟ” เป็นกระบองเพชรทรงกลมที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายซาลาเปา ทำให้หลายๆคนชอบเรียกแคคตัสซาลาเปาอีกด้วย กระบองเพชรชนิดนี้จุดเด่นที่เห็นได้ชัดเลยคือ ไม่มีหนาม ลักษณะผิวเรียบสีเขียวอมเทา ถ้ากดๆที่ลำต้นจะรู้สึกว่านิ่มๆและมีดอกขึ้นอยู่ตรงจุกด้านบนลำต้น โดยสีดอกของกระบองเพชรชนิดนี้จะมีหลากหลายสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่เลี้ยงนั่นเอง

Lophophora กับลักษณะเด่นที่พบเห็นได้ทั่วไป

ต้น lophophora โดยทั่วไปลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดคือ เป็น กระบองเพชรไม่มีหนาม รากหนาและมีขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในการสะสมและหาอาหาร ลักษณะลำต้นป้อมๆเตี้ยๆเป็นทรงกลม ผิวของต้นจะเป็นสีเขียวๆอมเทา บ้างก็ว่าเขียวฟ้าอมเทา เมื่อลูบไปแล้วจะรู้สึกด้านๆไม่ได้เรียบๆลื่นๆเหมือนแอสโตรไฟตัม ลำต้นค่อนข้างนุ่มนิ่ม ตามลำต้นจะมีเนินหนามเป็นตุ่มๆอยู่โดยรอบ ตามเนินหนามจะมีลักษณะเหมือนเป็นขนกระจุกขาวๆขนาดเล็กๆ แต่บางชนิดขนปุยตรงนั้นจะเป็นขนาดใหญ่ บางชนิดก็มีลักษณะด่างๆจากสีเขียวๆจะมีผสมสีเหลือง สีส้ม ซึ่งเป็นสายพันธุ์นี้ Lophophora fricii (variegated) ที่คนไทยนิยมเลี้ยงไม่น้อยเลยทีเดียว

สายพันธุ์แยกย่อยของเจ้าLophoมีอะไรบ้างนะ ?

โลโฟฟอร่า ฟริซิอาย ( lophophora fricii ) : ลำต้นของชนิดนี้จะมีทรงกลม และยังมีเนินหนามเป็นเต้าๆมากกว่าสายพันธุ์ปกติและมีขนกระจุกอยู่บนสุดของเนินหนาม (Tubucle) หรือหลายๆคนอาจจะเรียกว่าเต้า ซึ่งสายพันธุ์นี้จะนูนเด่นอย่างชัดเจน หากเลี้ยง  lophophoraจนโตเต็มที่อาจจะให้ดอกได้เรื่อยๆ จึงทำให้เป็นสายพันธุ์ที่หลายๆคนชื่นชอบและไม่แปลกใจเลยที่จะเลือกหยิบจากร้านไปเลี้ยงที่บ้าน

lophophora

โลโฟฟอร่า วิลเลียมซิอาย ( lophophora williamsii ) : สำหรับสายพันธุ์นี้ในหลายๆประเทศอาทิ ประเทศอเมริกาและประเทศจีน หากใครนำเข้าถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หลายๆคนอาจจะงงว่า อ่าว ก็เป็นกระบองเพชรแล้วทำไมถึงผิดกฎหมายด้วย ? ซึ่งในลำต้นของชนิดนี้มีสารที่เรียกว่า สาร อั ล คา ลอย ด์ ที่เป็น ยาเสพติด หากกินเข้าไปจะทำให้เกิดภาพหลอน เคลิบเคลิ้ม ง่วงซึม แน่นอนว่าคนเลี้ยงกระบองเพชรในไทยก็คงไม่มีใครอยากลองกินอยู่แล้วอย่างแน่นอน เพราะส่วนมากก็เลี้ยง lophophora เพราะเห็นว่าสวยงามเท่านั้น แต่ในทางที่ดีก็ไม่ควรลองรับประทาน แต่นอกจากนี้ในอดีตบางเผ่าที่ค้นพบต้นนี้ยังพบว่ามีแบคทีเรีย เพนนิซิลิน จึงถูกนำไปใช้บรรเทาอาการปวด และประยุกต์ใช้ในการเป็นยาแก้ปวดอย่างอื่นอีกมากมาย เรียกได้ว่ามีทั้งประโยชน์และโทษไปพร้อมๆกัน แต่อย่างที่บอกว่าทางที่ดีแค่เลี้ยงเพื่อความสวยงามอย่างเดียวก็เพียงพอ

lophophora

เลี้ยงโลโฟยังไงให้รอดเป็นต้นที่แข็งแรง

lophophora เน้นการเลี้ยงในดินที่ค่อนข้างร่วน โปร่ง มีหินภูเขาไฟอย่างพอดีเพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านได้ง่ายไม่กักเก็บน้ำไว้มากจนเกินไป รวมถึงไม่ควรรดน้ำถี่เกิน เน้นดูสภาพอากาศประกอบด้วยเป็นหลัก ช่วงไหนอากาศแห้งก็อาจจะรดประมาณ 2-3 วันครั้ง แต่ถ้าอากาศชื้นๆ เช่นช่วงฤดูฝนก็อาจจะรดแค่เพียงสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น เนื่องจากการรดที่มากเกินไปอาจจะทำให้รากเน่า และมีโอกาสที่ลำต้นจะบวมน้ำจนแตกได้  การให้แดดจากคำแนะนำของหลายๆคน คือ ไม่ควรให้ลำต้น lophophora โดนแดดโดยตรงควรพรางแสงให้ส่องถึงเพียงแค่ 60% ก็นับว่าเพียงพอ หากเลี้ยงจนออกฝักก็สามารถใช้ การเพาะเมล็ด เพื่อเพาะต้นอื่นๆเพื่อเลี้ยงต่อได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฮาโวเทีย
Credit : Cactuskingdom